9 วิธีเตรียมตัวเรียนต่อเยอรมัน & ขอทุน DAAD สำหรับคนทำงาน
ใครยังไม่เคยอ่าน
"9 วิธีเตรียมตัวเรียนต่อเยอรมัน & ขอทุน DAAD สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี" สามารถ คลิกที่นี่ ค่ะ
พี่เก๋เขียนบทความนี้ขึ้นมา อย่างสรุปๆ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมทีหลังเดี๋ยวจะค่อยมาเพิ่มอีกทีนะคะ
1.หาข้อมูลหลักสูตรมหาวิทยาลัยที่ใช่ คณะที่ชอบและ DAAD สนับสนุน
Blog เวปไซต์ที่น่าสนใจสำหรับการหาที่เรียนในเยอรมนี คลิกที่นี่
2. ติดต่อโปรเฟสเซอร์/อาจารย์ ของแต่คณะ/มหาวิทยาลัยที่ต้องการเรียน
ก่อนที่จะติดต่อโปรเฟสเซอร์นั้น น้องๆควรจะเข้าไปดูโปรไฟล์ของโปรเฟสเซอร์แต่ละคนว่า ส่วนใหญ่เขาเน้นงานวิจัยด้านไหนทำงานด้านไหน เวลาที่เขียน Studyplan หรือ Research Proposal จะได้รู้ว่าโปรเฟสเซอร์คนนั้นเขาจะสนใจเราหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่โปรเฟสเซอร์ในเยอรมันเขาจะมีสายงานวิจัยที่เขาถนัดหรือหากมีงานใหม่ๆก็จะไม่ฉีกไปมากจากแนวเดิม
ตย.เช่น พี่เก๋อยากเรียนเคมีสิ่งทอ แต่เขียน Study plan ไปหาโปรเฟสเซอร์คนที่สอนด้านแฟชั่น ถึงแม้จะอยู่ในสายสิ่งทอเหมือนกัน แต่เขาก็คงไม่สนใจเรา ถ้าเจออาจารย์ใจดีเขาอาจจะให้ชื่ออาจารย์ท่านอื่นที่อยู่ในสายที่เราสนใจ เพื่อติดต่อกลับไปแต่อย่าหวังน้ำบ่อหน้าค่ะ
3.ทำงานในบริษัทหรือหน่วยงานที่ตรงกับวิชาที่เรียนมา
อันนี้ค่อนข้างสำคัญมากเพราะหลายๆคณะที่ทาง DAAD ให้ทุน โดยเฉพาะทุนปริญญาโท Development - Related Post graduate Courses (Post graduate Courses for Professionals with Relevance to Developing Countries) มักจะมีข้อกำหนดว่าต้องผ่านการทำงานมาในสายงานที่เกี่ยวข้องกับที่จบมาอย่างน้อย2 ปี และอย่าลืมอายุต้องไม่เกิน 36 ปีด้วยค่ะ
4. ฝึกฝนภาษาอังกฤษและภาษาเยอรมันให้อยู่ในระดับดี
อันนี้เป็นสิ่งที่พี่เก๋เน้นย้ำนะคะ เพราะภาษาเป็นสิ่งที่สำคัญ และเดี๋ยวนี้แทบจะเป็นกฏข้อบังคับเลยว่าต้องได้ภาษายิ่งคณะไหนต้องเรียนเป็นภาษาเยอรมัน ถ้าน้องๆไม่มีพื้นฐานภาษาเยอรมันมาเลยเขาแทบจะไม่มองใบสมัครเลย ถึงแม้ว่าจะมีทุนให้ไปเรียนภาษาเยอรมันเต็มเวลาที่โน่นก่อน 6 เดือนก็ตาม เพราะเดี๋ยวนี้เด็กไม่จบเยอะทำให้เสียเงินและเสียเวลาทั้ง 2 ฝ่ายค่ะ
Blog แนะนำเรียนภาษาเยอรมันที่เกอเธ่ คลิก ที่นี่
5.พัฒนาตัวเอง อบรมสัมนาอ่านหนังสือเพิ่มพูนความรู้อยู่เสมอ
เล่าให้ฟัง เป็นความบังเอิญที่โชคบันดาล 555 สมัยพี่เก๋ทำงานเป็นวิศวกรวิจัยพัฒนา (R&D Engineer) ในโรงงานแห่งหนึ่งทางภาคตะวันออกนั้น ก็จะติดต่ออาจารย์มหาวิทยาลัยหรือเข้าเวปไซต์ของมหาวิทยาลัยดังๆที่มีคณะเหมือนกับที่พี่เก๋เรียนมาอยู่เสมอ วันหนึ่งเขาก็จัดอบรมโดยโปรเฟสเซอร์จากเยอรมัน พี่ก็ลาพักร้อนมาอบรมเอง ตอนนั้นยังไม่ได้คิดจะไปเรียนทีเยอรมันนะคะ
อีกเกือบ 2 ปีต่อมา พี่เก๋ก็สมัครไปเรียนที่ TUDresden ที่เยอรมัน แล้วโปรเฟสเซอร์คนที่ติดต่อก็เมล์คุยกันอยู่พักนึง ก่อนประกาศผลการสมัคร เขาถามพี่ว่ารู้จัก โปรเฟสเซอร์คนนี้ไหมเขามาสอนที่เมืองไทยพักหนึ่ง ก่อนกลับไปสอนที่ TUDresden เหมือนเดิม
พี่เก๋นั่งนึก“ใครฟ่ะ ใครจะไปรู้จัก”แต่พอนึกไปนึกมา ก็นึกออกว่า “เฮ้ย เราเคยไปอบรมกับโปรเฟสเซอร์ท่านนี้นี่หว่า “พี่เก๋ก็อีเมล์ไปบอกว่า“รู้จัก และประทับใจในความรู้ของโปรเฟสเซอร์เป็นอันมาก ทำให้อยากมาเรียนเยอรมันเพราะว่าเยอรมันมีวิชาการเข้มแข็ง .....บราๆๆๆๆ “ และตอนหลังโปรเฟสเซอร์ท่านนี้ก็มาเป็น Adviser ของพี่เก๋ค่ะ
ดังนั้น การเพิ่มเครือข่ายการเพิ่มพูนความรู้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน ยิ่งถ้าเราเกรดไม่ดี แต่งานเราดี กิจกรรมเราดี เครือข่ายเราเยอะผลงานแยะ ก็จะช่วยเรื่องในอดีตที่เราไม่สามารถกลับไปแก้ไขได้แล้ว เช่นกันค่ะ
6.เสริมสร้างโปรไฟล์ตัวเองให้ดูดี
ซึ่งนอกจากเรื่องภาษาก็คงต้องเป็นเรื่องของงาน ยกตัวอย่างพี่เก๋ (เพื่อให้เห็นภาพนะคะ ) พี่เก๋ทำงานเป็นวิศวกรวิจัยพัฒนา (R&D Engineer) ซึ่งแน่นอนต้องมีงานวิจัยทั้งที่ต้องเดี่ยวและทำเป็นโปรเจค์ใหญ่เป็นทีมร่วมกับคนอื่นซึ่ง พี่เก๋ก็จะมีการเก็บข้อมูลเข้าพอร์ตตัวเองอยู่เสมอ
ตอนที่เขียนประวัติและ study plan เราก็บอกว่าเราเคยทำงานวิจัยเกี่ยวกับอะไรบ้าง และน่าจะช่วยในเรื่องของการเรียนอย่างไรและเรายังขาดอะไร ทำไมถึงเราอยากไปเรียนเพื่อต่อยอดความรู้เราอย่างไร เป็นต้น
ซึ่งถ้าใครเป็นแนวๆนักวิจัย ตรงนี้คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะอย่างหนึ่งเลยสำหรับคนไปเรียนต่อสายวิศวะและสายวิทย์ ส่วนใหญ่จะต้องทำงานวิจัยก่อนจบ ซึ่งถ้าคุณได้ทำงานที่ใช้ความรู้ด้านวิชาการบ้าง ด้านการวิจัยบ้าง ก็ทำให้ทางผู้พิจารณาเขาเห็นวี่แววว่า เราน่าจะเรียนจนจบหลักสูตร โดยไม่ตกเหวไปเสียก่อนค่ะ
แต่ถ้าแนวอื่น เช่น ถ่ายภาพ ก็ควรมีเวปไซต์ หรือ blog แสดงผลงาน หรือผ่านการประกวดภาพถ่ายได้รางวัลบ้างไม่ได้บ้างนักดนตรี เคยได้แสดงร่วมกับวงใหญ่ๆบ้าง เป็นต้นค่ะ เรามีดีอะไรก็นำเสนอไปเลยค่ะ อย่าลืมว่า ใครๆก็อยากได้คนเก่งคนดี ไปค่ะ แต่ถ้าเราไม่เก่ง เราก็ต้องพยายามค่ะ พี่เก๋เป็นคนไม่เก่งมาก ไม่ฉลาดมาก แต่เป็นคนพยายามมากค่ะ 5555
7. หาเพื่อนร่วมอุดมการณ์ค่ะ
ว่าเราจะไปเรียนเมืองนอกด้วยกัน เราฝันไปด้วยกัน ตอนนั้นพี่เก๋ฝันคนเดียว ไม่กล้าบอกใคร ก็เด็กต่างจังหวัด เกรดก็ธรรมดา 2.75 มหาวิทยาลัยธรรมดา ทำงานในโรงงานธรรมดา ฝันอยากไปเรียนเมืองนอกฟรี 5555 นึกแล้วขำ เรื่องขอตังค์ที่บ้านไปเรียนต่อนะรึ ไม่มีทางแต่เราก็ยังฝัน
แล้ววันหนึ่งก็ไปงานนิทรรศการการศึกษาต่างประเทศที่ศูนย์สิริกิตต์มั้ง รู้สึกจะจัดทุกปีนะคะ พี่ก็ไปปะเข้ากับเพื่อนที่ทำงานเดียวกัน แต่คนละแผนก เจอกันร้อง "เฮ้ย มาได้ไง"ลางานมาด้วยกันทั้งคู่ ตอนหลัง เราก็เลยแลกเปลี่ยนกัน ทั้งข้อมูลเรื่องทุนที่โน่นที่นี่ สุดท้าย พี่เก๋ได้ไปเยอรมันส่วนเพื่อนได้ไปออสเตรเลีย หลังจากที่พี่ออกมาก่อนประมาณครึ่งปีได้
เรื่องหาเพื่อนร่วมอุดมการณ์เนี่ย สำคัญเหมือนกัน เพราะว่า หลังจากที่พี่เก๋กลับมาแล้วก็มีเพื่อนๆน้องๆอีกหลายคนที่มาปรึกษาอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ไปๆมาๆ ทำงานเหนื่อยสภาวะแวดล้อม พันธะกรณี อะไรในชีวิตเยอะไปหมด สุดท้ายก็ไม่มีเวลา ไฟก็เลยมอด และดับไปในที่สุดค่ะ
จะบอกว่า เวลาแค่ 2-3 ปี ที่ชีวิตในเมืองไทยอาจจะชงักไป แต่ไปเริ่มใหม่ที่ต่างประเทศมันให้อะไรเราเยอะมากอย่างที่เราคาดไม่ถึง แต่มันต้องอาศัยลูกฮึด ลูกอึดค่ะ
แต่สำหรับคนที่มีภาระหน้าที่ทางครอบครัว และตัวเอง การเรียนป.โท ป.เอกในเมืองไทยก็ไม่ใช่เรื่องเสียหาย เผลอๆ ป.โท ป.อก ในมหาวิทยาลัยอันดับต้นๆของเมืองไทย อาจจะยากและเข้มข้นกว่าที่เมืองนอกอีกนะคะ พี่เก๋ยืนยันได้ค่ะ
" ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึงค่ะ"